วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ชวเลขไทย



ชวเลขไทย
ชวเลขคือภาษาเขียนประเภทหนึ่งที่สามารถใช้แทนภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้ มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ ใช้เขียนตามเสียง ต้องมีการฝึกฝนจึงจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจดตามคำบอกซึ่งอาจเป็นในรูปของจดหมาย หรือคำสั่งต่างๆ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ชวเลขใช้ในการจดบันทึกการประชุม
ภาษาชวเลขมีหลักการกว้าง ๆ คือ

1. ชวเลขเป็นการเขียนตามเสียง หมายความว่าจะเขียนตามเสียงที่ได้ยินเท่านั้น แม้ว่าในการเขียนจะมีสระ พยัญชนะอะไร หากไม่ออกเสียงสระหรือพยัญชนะนั้นก็ไม่ต้องเขียนตัวชวเลข เช่น สรวล ตัว ร ไม่ออกเสียง ตัวชวเลขจะเขียนเพียง สวน หรือศาสตร์ ตัว ตร์ ไม่ออกเสียง ตัวชวเลขจะเขียนเพียง สาด
2. ชวเลขไม่มีวรรณยุกต์ การเขียนจะถือการออกเสียงเป็นหลัก แม้การเขียนโดยปกติ คำหรือถ้อยคำนั้นจะมีวรรณยุกต์อยู่ด้วยก็ตาม ผู้ถอดชวเลขจะทราบจากข้อความได้เองว่าคำนั้นคือคำใด เช่น นา หน่า หน้า หนา ตัวชวเลขจะเขียนเป็นตัวเดียวกันคือ นา ถ้าชวเลขเขียนว่า น้าของแดงใจดีมาก ผู้ถอดชวเลขจะทราบทันทีว่า นา ตัวนั้นคือน้า ทั้งนี้เพราะข้อความที่บอกว่าของแดงใจดีมาก ทำให้เข้ารูปประโยค จึงช่วยให้สามารถถอดชวเลขได้อย่างถูกต้อง
3. การอ่านชวเลข ให้ผู้เรียนอ่านพยัญชนะและสระจนมั่นใจว่าจำได้จึงค่อยอ่านบรรทัดต่อมา สำหรับตัวเลขที่เป็นตัวผสมให้ผู้เรียนสะกดแล้วอ่านทีละคำจนคล่อง จากนั้นก็อ่านโดยไม่จำเป็นต้องสะกด ให้อ่านจนคล่องและมั่นใจว่าอ่านได้แล้วจึงค่อยอ่านข้อความต่อไปชวเลขถือเป็นความสามารถพิเศษ เพราะผู้จดจะสามารถฟังด้วยความเข้าใจและจดตาม เมื่อถอดชวเลขก็สามารถพิมพ์ออกไปได้เลย ทำให้ประหยัดเวลา และผลงานก็ถูกต้องแม่นยำ ชวเลขช่วยให้มีความคล่องตัวสูง เมื่อรับคำสั่งแล้วนำพิมพ์ลงในคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ดีด ก็จะได้ขัดเกลาสำเนาไปในตัวให้เป็นภาษาที่สละสลวยมากขึ้น ผลงานที่พิมพ์ออกมาก็สมบูรณ์ชวเลขเป็นประโยชน์สำหรับเลขานุการอย่างไรชว แปลว่า เร็ว เลข ในที่นี้ลดรูปมาจาก เลขา

คำว่า เลขา ที่แปลว่า ตัวอักษร การเขียน ความหมายคือ การเขียนตัวอักษรอย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องหมาย (ผู้เขียน) ดังนั้น ประโยชน์อย่างแรกก็คือ จะช่วยให้เลขานุการจดบันทึกได้รวดเร็วขึ้นเพราะใช้ชวเลขช่วย อย่าลืมนอกจากแต่ละตัวอักษรจะเขียนได้สั้นแล้วยังมีคำย่อที่ช่วยย่นย่อคำหรือประโยคได้อีก ให้นึกถึงภาพที่เลขานุการจดไม่ทันแล้วต้องให้เจ้านายทวนประโยคหรือคำพูด ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ยิ่งเป็นการระบุตัวเลข เช่น จำนวนเงิน วัน เวลา จะผิดพลาดไม่ได้เลยภาพเลขานุการเตรียมสมุดบันทึกเล่มเล็ก, ดินสอหรือปากกา พร้อมที่จะจดบันทึกตามคำบอกของเจ้านาย กับภาพเลขานุการยื่นหรือวาง เครื่องบันทึกหรือเครื่อง mp3 ต่อหน้าเจ้านาย ความรู้สึกทั้งสองภาพนี้น่าจะตอบคำถามที่ชวนให้คิดนี้ได้พอสมควร ทุกอย่างที่เป็น manual (ใช้มือ) กับการต้องพึ่งพาอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ วิธีการใด เตรียมตัวได้รวดเร็ว คล่องตัว กว่ากัน สมุด ปากกาดินสอ กับเครื่องบันทึกเทปหรือ mp3 อย่างไหนที่หยิบหาใกล้ตัวได้ง่ายและเร็วกว่า หากคำตอบของคุณเป็นเครื่องมือฯ ชวเลขก็ต้องหมดความจำเป็นแน่นอน การสรุปความอย่างย่อกับการจดบันทึกเกือบทุกรายละเอียด เมื่อนำมาถอดความแล้วพิมพ์ต้นฉบับหรือผลิตเป็นเอกสาร สาระสำคัญจากทั้งสองทางเลือกอันไหนที่ทำให้โอกาสข้อมูลผิดพลาดมากกว่า คุณรู้คำตอบสำหรับทางเลือกนั้นแล้ว....การจดบันทึกเรื่องที่เป็นความลับของเจ้านายหรืองานที่รับผิดชอบ ตัวชวเลขผู้จะแปลหรือเข้าใจได้ ก็ต้องเป็นผู้เคยฝึกหรือเรียนรู้เรื่องนี้มาก่อน หากจะหาคนปล่อยข่าวหรือข้อมูลลับเหล่านั้น ไม่ใช่เจ้านายกับทีมเลขานุการ บุคคลที่สามน่าจะสืบเสาะหาได้ไม่ยากนักการประชุมหรือการจดบันทึกบางเรื่อง เจ้านายอาจจะไม่อนุญาตให้มีการบันทึกด้วยเครื่องบันทึกแบบใดทั้งสิ้น ทางเลือกระหว่างการ short note กับ shorthand วิธีใดเก็บรายละเอียดได้มากกว่ากัน... การกรอกใบสมัคร ในช่องความสามารถพิเศษ สำหรับการใช้ชวเลขภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ผู้พิจารณาใบสมัครของแผนกบุคลากรหรือผู้รับผิดชอบ จะมองข้ามเชียวหรือ! อีกเรื่องที่ลืมไม่ได้คือ ความเร็วต่อนาที (speed) ต้องระบุให้ชัด

สระชวเลข



สระชวเลข แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. สระวงกลม
2. สระตะขอ
3. สระประสม


ข้อควรจำ
สัญลักษณ์ชวเลขไทยแบบเกร๊กก์ มีทั้งตัวสั้นและตัวยาว การเขียนสัญลักษณ์ตัวยาวให้เขียนย่าวกว่าสัญลักษณ์ตัวสั้นประมาณครึ่งหนึ่ง การเขียนสัญลักษณ์ตัวสั้นและตัวยาวควรเขียนให้แตกต่าวกันเพื่อจะได้อ่านง่าย ขณะที่เขียนมือต้องไม่หยุดชะงัก จะต้องเขียนติดต่อกัน และลากเส้นไปตามหลักการเขียนสัญลักษณ์ชวเลขตัวนั้น ๆ ไม่ควรเขียนย้อนไปย้อนมา

พยัชนะชวเลข


การเขียนตัวชวเลขไทยแบบเกร๊กก์ ตัวชวเลขแบบนี้จะมีทั้งเส้นตรง เส้นโค้ง และจุดพยัญชนะทุกตัวมาจากส่วนต่าง ๆ ของวงกลม พยัญชนะไทย มี 44 ตัว แต่สัญลักษณ์พยัญชนะไทย มีเพียง 18 ดังนี้พยัญชนะเส้นโค้ง มี 10 ตัว
ข ค ฆ โค้งคว่ำสั่นก โค้งคว่ำ
ย ว ร โค้งหงายสั้น
ล ฬ โค้งหงายยาว
ว ตะขอคว่ำ
ศ ษ ส ซ โค้งสั้นเอียงขวา
ฝ ฟ โค้งยาวเอียงขวา
ป ผ พ ภ โค้งสั้นปัดลงซ้ายบ โค้งยาวปัดลงซ้าย
ต ฏ โค้งสั้นปัดขึ้นพยัญชนะจุด มี 1 ตัว
ห ฮ . ใช้จุดแทนพยัญชนะเส้นตรง มี 7 ตัว
น ณ เส้นตรงสั้น 0.5 ซม.ม เส้นตรงยาว 1 ซม.
ฉ ช เส้นตางสั้นเฉียงลง 0.5 ซม.
จ เส้นตรงยาวเฉียงลง 1 ซม.
ถ ท ธ ฒ ฐ ฑ เส้นตรงสั้นเฉียงขี้น 0.5 ซม.
ด ฎ เส้นตรงยาวเฉียงขึ้น 1 ซม.
ง เส้นตางสั้นเฉียงลง ขวา 0.5 ซม

ประโยชน์ของชวเลข


1. จดรายงานการประชุม
2. ร่างจดหมายโต้ตอบ
3. รับคำสั่งผู้บังคับบัญชา
4. รับโทรศัพท์
5. จดบันทึกงานประจำวัน
6. จดบันทึกส่วนตัว
7. จด Lecture คำบรรยาย
8. เขียนข่าวในวิทยุ - โทรทัศน์
9. นักข่าวจดคำสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ หรือข้อความอื่น ๆ ที่ต้องใช้ความรวดเร็ว

หลักการเขียนชวเลขไทย
1. เขียนตามเสียง
2. เขียนเฉพาะพยัญชนะที่จำเป็น
3. เขียนเฉพาะเสียงสามัญหรือเสียงต่ำ

หลักการเขียนชวเลข


1. เขียนตามเสียง การเขียนชวเลขนั้น เมื่อได้ยินเสียงอย่างไรก็เขียนไปตามเสียงนั้นแต่เวลาถอดข้อความเป็นภาษาไทย จะต้องเขียนให้ถูกต้องทั้งตัวสะกด การันต์ และตามหลักไวยากรณ์ เช่นฟุต ชวเลขเขียน ฟุดมาตร ชวเลขเขียน มาดราษฏร์ ชวเลขเขียน ราดศูนย์ ชวเลขเขียน สูน
2. วรรณยุกต์ ชวเลขไทยไม่มีวรรณยุกต์ เวลาเขียนคำที่มีเสียงสูงต่ำจะเขียนเป็นเสียงเดียวกัน เช่น" เมื่อเช้านี้ฉันมาโรงเรียนสาย" ชวเลขเขียน "เมือเชานีฉันมาโรงเรียนสาย"
3. ตัวการันต์ สัญลักษณ์ชวเลยไทยไม่มีตัวการันต์ เพราะไม่มีการออกเสียงที่ตัวการันต์แต่เมื่อแปลเป็นภาษาไทยผู้เขียนจะต้องสะกดตัวการันต์ให้ถูกต้องตามหบักไวยากรณ์ เช่น คำว่าอนัน แปลเป็น อนันต์ เป็นต้4. วรรคตอน การเขียนชวเลขจะต้องใส่เครื่องหมายวรรรคตอนด้วย เช่น เครื่องหมายคำถาม หมดวรรค ย่อหน้า ฯลฯ ฉะนั้น เมื่อแปลเป็นภาษาไทยจะต้องเข้าใจสัญลักษณ์เครื่องหมายวรรคตอนชวเลข และใส่เครื่องหมายให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ไทย

ตัวอย่างรายงานการประชุม


รายงานการประชุม
ข้าราชการสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี
ครั้งที่ 3 / 2550
ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี
วันที่ 26 มีนาคม 2550

ผู้เข้าร่วมประชุม
ตามเอกสารแนบ

เริ่มประชุมเวลา 13.30 น.
นายทศพร ศรีศักดิ์ ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี ประธานที่ประชุม กล่าวเปิดประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.1 ย้ายข้าราชการ
นายประเสริฐ แสงเพ็ชร ไปปฏิบัติราชการที่ กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหนองบัวลำภู นายพนมกร วาทบัณฑิตกุล มาปฎิบัติราชการที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหนองวัวซอ
1.2 รายงานผลการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ให้แต่งตั้งคณะทำงาน 2 ท่าน คือ นายณรงค์ชัย ศรีดาวเรือง และนายมานพ กุศลยัง
1.3 การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรองอธิบดีกรมปศุสัตว์
อธิบดีกระจายอำนาจให้รองอธิบดีมีอำนาจแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์
1. นางสาวฉวีวรรณ เลียววิจักขณ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุม เร่งรัดและติดตามผลการปฎิบติราชการ โดยให้มีอำนาจในการบังคับบัญชาข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และการสั่งการอนุญาต การอนุมัติหรือการปฎิบัติราชการที่อธิบดีกรมปศุสัตว์จะพึงปฎิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับราชการต่างๆ ของสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์กับเงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตวัคซีนจำหน่าย สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
2. นายจีรวัชร์ เข็มสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุม เร่งรัดและติดตามผลการปฎิบติราชการ โดยให้มีอำนาจในการบังคับบัญชาข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และการสั่งการอนุญาต การอนุมัติหรือการปฎิบัติราชการที่อธิบดีกรมปศุสัตว์จะพึงปฎิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับราชการต่างๆ ของศูนย์สารสนเทศ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กองอาหารสัตว์ และสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตสัตว์
3. นายทฤษดี ชาวชวนเจริญ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุม เร่งรัดและติดตามผลการปฎิบติราชการ โดยให้มีอำนาจในการบังคับบัญชาข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และการสั่งการอนุญาต การอนุมัติหรือการปฎิบัติราชการที่อธิบดีกรมปศุสัตว์จะพึงปฎิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับราชการต่างๆ ของสำนักงานเลขานุการกรม กองการเจ้าหน้าที่ กองแผนงาน กองคลัง และสำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี
วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2550 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550
รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2550 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 ณ ห้องประชุมสำนักงาน
ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี ที่ประชุมรับรอง แต่ปศุสัตว์จังหวัดเน้นย้ำ ในปี 2551 อธิบดีเน้นคุณภาพของงานมากกว่าปริมาณ และโรคไข้หวัดนกขอให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบการเคลื่อนย้ายอย่างเข้มงวด
วาระที่ 3 การพิจารณาแผน/ผลการดำเนินการและปัญหาอุปสรรค
3.1 แผน/ผล/ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญ เร่งด่วน ของรัฐบาล/กระทรวง/กรม/จังหวัด
3.1.1 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
- สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 4 ให้ทำแผนประมาณการใช้หญ้าแห้ง ซึ่งคุณณรงค์ชย ศรีดาวเรือง ได้ใช้สถิติจำนวนสัตว์โค-กระบือ และทำประมาณการส่งสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 4 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถปรบเพิ่มเติมได้
- กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศให้จังหวัดอุดรธานีเป็นพื้นที่ที่อาจเกิดภัยพิบัติ ให้แจ้งเตือนเกษตรกร
3.1.2 การเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
ในเดือนมกราคม คณะกรรมการตั้งข้อสังเกตว่าปศุสัตว์กับสาธารณสุขยังไม่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกัน
การตัดชุดสารวัตรกรมปศุสัตว์ให้พิจารณาเรื่องชุดให้จัดหางบประมาณมาช่วยในการตัดชุด
การเคลื่อนย้ายสัตว์ขอให้เฝ้าระวังอย่างเข้มงวดต่อไป และการใช้จ่ายเงินให้ของบประมาณจากท้องถิ่นก่อนแล้วให้ดูความเหมาะสมหากท้องถิ่นมีปัญหาให้หางบประมาณ และวิธีการจากหน่วยงานอื่น อาจจะหาช่องทางเบิกจากงบภัยภิบัติ
3.1.3 การพัฒนาปศุสัตว์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
- ได้ให้ตัวชี้วัดไปแล้วให้ลองไปสอบถามกับผู้รักษาการดู (คุณมานพ กุศลยัง)
- ให้เสนอเกษตรกรที่ปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเสนอต่ออำเภอโดยให้ปศุสัตว์อำเภอไปค้นดูหากค้นไม่เจออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ค้น
- ตัวชี้วัด 9x4 หรือ 6x2 ให้ตรวจสอบว่าให้อำเภอใช้ตัวชี้วัดไหนและให้สำเนาแจกอำเภอด้วย
3.2 แผน/ผล/ติดตามการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์ ของกระทรวง/กรม/จังหวัด
- ฝ่ายบริหารทั่วไป
- ไม่มี
- กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์
- การรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัดประจำปี 2550
ปี 2550 ไม่มีเงินค่าตอบแทนสำหรับผู้ฉีดวัคซีน แต่อาจจะของบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้

- ขอความอนุเคราะห์เก็บตัวอย่างเพื่อสำรวจโรค
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะมาเก็บตัวอย่างโรคที่ทำให้เกิดการแท้งในโคนมในเขตภาคตะวันเฉียงเหนือ ในวันที่ 28 มีนาคม 2550 ที่ อำเภอศรีธาตุ
วันที่ 29 มีนาคม 2550 ที่ อำเภอกุดจับ
วันที่ 29-30 มีนาคม 2550 ที่ อำเภอเมือง ขอให้อำเภอช่วยจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ไว้ด้วย
- กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์
- การเก็บตัวอย่างเนื้อเพื่อส่งตรวจ ให้อำเภอต่อไปนี้ส่งเพิ่มเติมด้วย
อำเภอวังสามหมอ เนื้อสุกร 1 ตัวอย่าง เนื้อโคหรือกระบือ 1 ตัวอย่าง เนื้อไก่ 2 ตัวอย่าง
อำเภอกุมภวาปี ห้วยเกิ้ง เนื้อสุกร 1 ตัวอย่าง เนื้อโค 1 ตัวอย่าง เนื้อไก่ 2 ตัวอย่าง
อำเภอกุมภวาปี พันดอน เนื้อสุกร 2 ตัวอย่าง เนื้อโคหรือกระบือ 1 ตัวอย่าง
อำเภอเพ็ญ เนื้อสุกร 2 ตัวอย่าง เนื้อโคหรือกระบือ 1 ตัวอย่าง เนื้อไก่ 2 ตัวอย่าง
อำเภอบ้านผือ เนื้อสุกร 1 ตัวอย่าง เนื้อโคหรือกระบือ 1 ตัวอย่าง เนื้อไก่ 2 ตัวอย่าง
อำเภอหนองวัวซอ เนื้อไก่ 1 ตัวอย่าง
ให้ส่งตัวอย่างไม่เกินวันที่ 29 มีนาคม 2550
- การขอต่อทะเบียนอาหาร
ร้านอาหารใดที่จะมาต่อทะเบียนอาหารนั้น ขอให้อำเภอแจ้งผู้ประกอบการด้วยว่าจะต้องเตรียมหลักฐานใดมาบ้าง เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมหลักฐานมาให้ครบ
- กิจกรรมมาตรฐานฟาร์มและการตรวจรับรอง
ขณะนี้มีฟาร์มโคเนื้ออยู่ 3 ฟาร์มที่กลุ่มฯ จะพยายามให้เข้าสู่มาตรฐานฟาร์มเพราะยังไม่มีฟาร์มโคเนื้อใดที่เข้ามาตรฐานฟาร์มเลย ซึ่งฟาร์มโคเนื้อที่บ้านช้างน่าจะเป็นฟาร์มที่เข้าสู่มาตรฐานฟาร์มเป็นอันดับแรก
- กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์
- ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี 2550
ศูนย์ฯที่กลุ่มได้คัดเลือกมาแล้ว 8 ศูนย์ฯ จะฝึกอบรมในกลางเดือนเมษายน 2550 และขอความร่วมมือจากอำเภอให้กรอกแบบรายงานกรมฯ เพิ่มเติมด้วย
- ศูนย์เรียนรู้การผลิตสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 2550
กลุ่มได้เสนอไป 8 อำเภอๆละ 1 ฟาร์ม กรมปศุสัตว์ได้คัดเลือกมา 6 ฟาร์ม ได้แก่ อ. สร้างคอม , อ. กุมภวาปี , อ.เมือง , อ.ประจักษ์ศิลปาคม , อ.วังสามหมอ และอำเภอบ้านดุง
- อาสาพัฒนาปศุสัตว์ (อสป.) 2550
จะอบรมที่จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 200 คน ขอให้แต่ละอำเภอส่งรายชื่ออาสาพัฒนาปศุสัตว์ ที่ยังไม่ผ่านการอบรมภายในวันที่ 30 มีนาคม 2550 และขอให้อำเภอคัดเลือกอาสาพัฒนาปศุสัตว์ที่ดีที่สุดมาอำเภอละ 1 คน เพื่อส่ง สสอ.ที่ 4 ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2550 เช่นกัน
- โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ปี 2550 กลุ่มได้ขอหญ้ากินนีสีม่วงจำนวน 2,300 ถุง หญ้ารูซี่ 30 กิโลกรัม
- โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร 2550 เป็นภารกิจของอำเภอในการรับส่งอาหารและให้คำปรึกษา
วาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ
- ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ต้องเสร็จภายในวันที่ 30 เมษายน 2550
- มติคณะรัฐมนตรีกล่าวว่าให้จังหวัดเป็นนิติบุคคล เพราะฉะนั้นจังหวัดสามารถตั้งงบประมาณได้เอง
- กรมบัญชีกลางให้ Print GFMIS รายงานปศุสัตว์ทราบทุกวัน


ปิดประชุมเวลา 16.40 น.


ผู้จดรายงานการประชุม
(นางพัชรา ศีรษะโคตร )
(เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์)


ผู้ตรวจรายงานการประชุม
(นายณรงค์ชัย ศรีดาวเรือง)
เจ้าหน้าที่บริหารงานปศุสัตว์ 7