วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตัวอย่างรายงานการประชุม


รายงานการประชุม
ข้าราชการสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี
ครั้งที่ 3 / 2550
ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี
วันที่ 26 มีนาคม 2550

ผู้เข้าร่วมประชุม
ตามเอกสารแนบ

เริ่มประชุมเวลา 13.30 น.
นายทศพร ศรีศักดิ์ ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี ประธานที่ประชุม กล่าวเปิดประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้

วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.1 ย้ายข้าราชการ
นายประเสริฐ แสงเพ็ชร ไปปฏิบัติราชการที่ กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหนองบัวลำภู นายพนมกร วาทบัณฑิตกุล มาปฎิบัติราชการที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหนองวัวซอ
1.2 รายงานผลการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ให้แต่งตั้งคณะทำงาน 2 ท่าน คือ นายณรงค์ชัย ศรีดาวเรือง และนายมานพ กุศลยัง
1.3 การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรองอธิบดีกรมปศุสัตว์
อธิบดีกระจายอำนาจให้รองอธิบดีมีอำนาจแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์
1. นางสาวฉวีวรรณ เลียววิจักขณ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุม เร่งรัดและติดตามผลการปฎิบติราชการ โดยให้มีอำนาจในการบังคับบัญชาข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และการสั่งการอนุญาต การอนุมัติหรือการปฎิบัติราชการที่อธิบดีกรมปศุสัตว์จะพึงปฎิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับราชการต่างๆ ของสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์กับเงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตวัคซีนจำหน่าย สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
2. นายจีรวัชร์ เข็มสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุม เร่งรัดและติดตามผลการปฎิบติราชการ โดยให้มีอำนาจในการบังคับบัญชาข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และการสั่งการอนุญาต การอนุมัติหรือการปฎิบัติราชการที่อธิบดีกรมปศุสัตว์จะพึงปฎิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับราชการต่างๆ ของศูนย์สารสนเทศ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กองอาหารสัตว์ และสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตสัตว์
3. นายทฤษดี ชาวชวนเจริญ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุม เร่งรัดและติดตามผลการปฎิบติราชการ โดยให้มีอำนาจในการบังคับบัญชาข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และการสั่งการอนุญาต การอนุมัติหรือการปฎิบัติราชการที่อธิบดีกรมปศุสัตว์จะพึงปฎิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับราชการต่างๆ ของสำนักงานเลขานุการกรม กองการเจ้าหน้าที่ กองแผนงาน กองคลัง และสำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี
วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2550 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550
รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2550 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 ณ ห้องประชุมสำนักงาน
ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี ที่ประชุมรับรอง แต่ปศุสัตว์จังหวัดเน้นย้ำ ในปี 2551 อธิบดีเน้นคุณภาพของงานมากกว่าปริมาณ และโรคไข้หวัดนกขอให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบการเคลื่อนย้ายอย่างเข้มงวด
วาระที่ 3 การพิจารณาแผน/ผลการดำเนินการและปัญหาอุปสรรค
3.1 แผน/ผล/ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญ เร่งด่วน ของรัฐบาล/กระทรวง/กรม/จังหวัด
3.1.1 การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
- สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 4 ให้ทำแผนประมาณการใช้หญ้าแห้ง ซึ่งคุณณรงค์ชย ศรีดาวเรือง ได้ใช้สถิติจำนวนสัตว์โค-กระบือ และทำประมาณการส่งสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 4 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถปรบเพิ่มเติมได้
- กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศให้จังหวัดอุดรธานีเป็นพื้นที่ที่อาจเกิดภัยพิบัติ ให้แจ้งเตือนเกษตรกร
3.1.2 การเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
ในเดือนมกราคม คณะกรรมการตั้งข้อสังเกตว่าปศุสัตว์กับสาธารณสุขยังไม่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกัน
การตัดชุดสารวัตรกรมปศุสัตว์ให้พิจารณาเรื่องชุดให้จัดหางบประมาณมาช่วยในการตัดชุด
การเคลื่อนย้ายสัตว์ขอให้เฝ้าระวังอย่างเข้มงวดต่อไป และการใช้จ่ายเงินให้ของบประมาณจากท้องถิ่นก่อนแล้วให้ดูความเหมาะสมหากท้องถิ่นมีปัญหาให้หางบประมาณ และวิธีการจากหน่วยงานอื่น อาจจะหาช่องทางเบิกจากงบภัยภิบัติ
3.1.3 การพัฒนาปศุสัตว์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
- ได้ให้ตัวชี้วัดไปแล้วให้ลองไปสอบถามกับผู้รักษาการดู (คุณมานพ กุศลยัง)
- ให้เสนอเกษตรกรที่ปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเสนอต่ออำเภอโดยให้ปศุสัตว์อำเภอไปค้นดูหากค้นไม่เจออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ค้น
- ตัวชี้วัด 9x4 หรือ 6x2 ให้ตรวจสอบว่าให้อำเภอใช้ตัวชี้วัดไหนและให้สำเนาแจกอำเภอด้วย
3.2 แผน/ผล/ติดตามการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์ ของกระทรวง/กรม/จังหวัด
- ฝ่ายบริหารทั่วไป
- ไม่มี
- กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์
- การรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัดประจำปี 2550
ปี 2550 ไม่มีเงินค่าตอบแทนสำหรับผู้ฉีดวัคซีน แต่อาจจะของบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้

- ขอความอนุเคราะห์เก็บตัวอย่างเพื่อสำรวจโรค
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะมาเก็บตัวอย่างโรคที่ทำให้เกิดการแท้งในโคนมในเขตภาคตะวันเฉียงเหนือ ในวันที่ 28 มีนาคม 2550 ที่ อำเภอศรีธาตุ
วันที่ 29 มีนาคม 2550 ที่ อำเภอกุดจับ
วันที่ 29-30 มีนาคม 2550 ที่ อำเภอเมือง ขอให้อำเภอช่วยจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ไว้ด้วย
- กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์
- การเก็บตัวอย่างเนื้อเพื่อส่งตรวจ ให้อำเภอต่อไปนี้ส่งเพิ่มเติมด้วย
อำเภอวังสามหมอ เนื้อสุกร 1 ตัวอย่าง เนื้อโคหรือกระบือ 1 ตัวอย่าง เนื้อไก่ 2 ตัวอย่าง
อำเภอกุมภวาปี ห้วยเกิ้ง เนื้อสุกร 1 ตัวอย่าง เนื้อโค 1 ตัวอย่าง เนื้อไก่ 2 ตัวอย่าง
อำเภอกุมภวาปี พันดอน เนื้อสุกร 2 ตัวอย่าง เนื้อโคหรือกระบือ 1 ตัวอย่าง
อำเภอเพ็ญ เนื้อสุกร 2 ตัวอย่าง เนื้อโคหรือกระบือ 1 ตัวอย่าง เนื้อไก่ 2 ตัวอย่าง
อำเภอบ้านผือ เนื้อสุกร 1 ตัวอย่าง เนื้อโคหรือกระบือ 1 ตัวอย่าง เนื้อไก่ 2 ตัวอย่าง
อำเภอหนองวัวซอ เนื้อไก่ 1 ตัวอย่าง
ให้ส่งตัวอย่างไม่เกินวันที่ 29 มีนาคม 2550
- การขอต่อทะเบียนอาหาร
ร้านอาหารใดที่จะมาต่อทะเบียนอาหารนั้น ขอให้อำเภอแจ้งผู้ประกอบการด้วยว่าจะต้องเตรียมหลักฐานใดมาบ้าง เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมหลักฐานมาให้ครบ
- กิจกรรมมาตรฐานฟาร์มและการตรวจรับรอง
ขณะนี้มีฟาร์มโคเนื้ออยู่ 3 ฟาร์มที่กลุ่มฯ จะพยายามให้เข้าสู่มาตรฐานฟาร์มเพราะยังไม่มีฟาร์มโคเนื้อใดที่เข้ามาตรฐานฟาร์มเลย ซึ่งฟาร์มโคเนื้อที่บ้านช้างน่าจะเป็นฟาร์มที่เข้าสู่มาตรฐานฟาร์มเป็นอันดับแรก
- กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์
- ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี 2550
ศูนย์ฯที่กลุ่มได้คัดเลือกมาแล้ว 8 ศูนย์ฯ จะฝึกอบรมในกลางเดือนเมษายน 2550 และขอความร่วมมือจากอำเภอให้กรอกแบบรายงานกรมฯ เพิ่มเติมด้วย
- ศูนย์เรียนรู้การผลิตสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 2550
กลุ่มได้เสนอไป 8 อำเภอๆละ 1 ฟาร์ม กรมปศุสัตว์ได้คัดเลือกมา 6 ฟาร์ม ได้แก่ อ. สร้างคอม , อ. กุมภวาปี , อ.เมือง , อ.ประจักษ์ศิลปาคม , อ.วังสามหมอ และอำเภอบ้านดุง
- อาสาพัฒนาปศุสัตว์ (อสป.) 2550
จะอบรมที่จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 200 คน ขอให้แต่ละอำเภอส่งรายชื่ออาสาพัฒนาปศุสัตว์ ที่ยังไม่ผ่านการอบรมภายในวันที่ 30 มีนาคม 2550 และขอให้อำเภอคัดเลือกอาสาพัฒนาปศุสัตว์ที่ดีที่สุดมาอำเภอละ 1 คน เพื่อส่ง สสอ.ที่ 4 ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2550 เช่นกัน
- โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ปี 2550 กลุ่มได้ขอหญ้ากินนีสีม่วงจำนวน 2,300 ถุง หญ้ารูซี่ 30 กิโลกรัม
- โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร 2550 เป็นภารกิจของอำเภอในการรับส่งอาหารและให้คำปรึกษา
วาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ
- ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ต้องเสร็จภายในวันที่ 30 เมษายน 2550
- มติคณะรัฐมนตรีกล่าวว่าให้จังหวัดเป็นนิติบุคคล เพราะฉะนั้นจังหวัดสามารถตั้งงบประมาณได้เอง
- กรมบัญชีกลางให้ Print GFMIS รายงานปศุสัตว์ทราบทุกวัน


ปิดประชุมเวลา 16.40 น.


ผู้จดรายงานการประชุม
(นางพัชรา ศีรษะโคตร )
(เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์)


ผู้ตรวจรายงานการประชุม
(นายณรงค์ชัย ศรีดาวเรือง)
เจ้าหน้าที่บริหารงานปศุสัตว์ 7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น