วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ชวเลขไทย



ชวเลขไทย
ชวเลขคือภาษาเขียนประเภทหนึ่งที่สามารถใช้แทนภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้ มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ ใช้เขียนตามเสียง ต้องมีการฝึกฝนจึงจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจดตามคำบอกซึ่งอาจเป็นในรูปของจดหมาย หรือคำสั่งต่างๆ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ชวเลขใช้ในการจดบันทึกการประชุม
ภาษาชวเลขมีหลักการกว้าง ๆ คือ

1. ชวเลขเป็นการเขียนตามเสียง หมายความว่าจะเขียนตามเสียงที่ได้ยินเท่านั้น แม้ว่าในการเขียนจะมีสระ พยัญชนะอะไร หากไม่ออกเสียงสระหรือพยัญชนะนั้นก็ไม่ต้องเขียนตัวชวเลข เช่น สรวล ตัว ร ไม่ออกเสียง ตัวชวเลขจะเขียนเพียง สวน หรือศาสตร์ ตัว ตร์ ไม่ออกเสียง ตัวชวเลขจะเขียนเพียง สาด
2. ชวเลขไม่มีวรรณยุกต์ การเขียนจะถือการออกเสียงเป็นหลัก แม้การเขียนโดยปกติ คำหรือถ้อยคำนั้นจะมีวรรณยุกต์อยู่ด้วยก็ตาม ผู้ถอดชวเลขจะทราบจากข้อความได้เองว่าคำนั้นคือคำใด เช่น นา หน่า หน้า หนา ตัวชวเลขจะเขียนเป็นตัวเดียวกันคือ นา ถ้าชวเลขเขียนว่า น้าของแดงใจดีมาก ผู้ถอดชวเลขจะทราบทันทีว่า นา ตัวนั้นคือน้า ทั้งนี้เพราะข้อความที่บอกว่าของแดงใจดีมาก ทำให้เข้ารูปประโยค จึงช่วยให้สามารถถอดชวเลขได้อย่างถูกต้อง
3. การอ่านชวเลข ให้ผู้เรียนอ่านพยัญชนะและสระจนมั่นใจว่าจำได้จึงค่อยอ่านบรรทัดต่อมา สำหรับตัวเลขที่เป็นตัวผสมให้ผู้เรียนสะกดแล้วอ่านทีละคำจนคล่อง จากนั้นก็อ่านโดยไม่จำเป็นต้องสะกด ให้อ่านจนคล่องและมั่นใจว่าอ่านได้แล้วจึงค่อยอ่านข้อความต่อไปชวเลขถือเป็นความสามารถพิเศษ เพราะผู้จดจะสามารถฟังด้วยความเข้าใจและจดตาม เมื่อถอดชวเลขก็สามารถพิมพ์ออกไปได้เลย ทำให้ประหยัดเวลา และผลงานก็ถูกต้องแม่นยำ ชวเลขช่วยให้มีความคล่องตัวสูง เมื่อรับคำสั่งแล้วนำพิมพ์ลงในคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ดีด ก็จะได้ขัดเกลาสำเนาไปในตัวให้เป็นภาษาที่สละสลวยมากขึ้น ผลงานที่พิมพ์ออกมาก็สมบูรณ์ชวเลขเป็นประโยชน์สำหรับเลขานุการอย่างไรชว แปลว่า เร็ว เลข ในที่นี้ลดรูปมาจาก เลขา

คำว่า เลขา ที่แปลว่า ตัวอักษร การเขียน ความหมายคือ การเขียนตัวอักษรอย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องหมาย (ผู้เขียน) ดังนั้น ประโยชน์อย่างแรกก็คือ จะช่วยให้เลขานุการจดบันทึกได้รวดเร็วขึ้นเพราะใช้ชวเลขช่วย อย่าลืมนอกจากแต่ละตัวอักษรจะเขียนได้สั้นแล้วยังมีคำย่อที่ช่วยย่นย่อคำหรือประโยคได้อีก ให้นึกถึงภาพที่เลขานุการจดไม่ทันแล้วต้องให้เจ้านายทวนประโยคหรือคำพูด ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ยิ่งเป็นการระบุตัวเลข เช่น จำนวนเงิน วัน เวลา จะผิดพลาดไม่ได้เลยภาพเลขานุการเตรียมสมุดบันทึกเล่มเล็ก, ดินสอหรือปากกา พร้อมที่จะจดบันทึกตามคำบอกของเจ้านาย กับภาพเลขานุการยื่นหรือวาง เครื่องบันทึกหรือเครื่อง mp3 ต่อหน้าเจ้านาย ความรู้สึกทั้งสองภาพนี้น่าจะตอบคำถามที่ชวนให้คิดนี้ได้พอสมควร ทุกอย่างที่เป็น manual (ใช้มือ) กับการต้องพึ่งพาอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ วิธีการใด เตรียมตัวได้รวดเร็ว คล่องตัว กว่ากัน สมุด ปากกาดินสอ กับเครื่องบันทึกเทปหรือ mp3 อย่างไหนที่หยิบหาใกล้ตัวได้ง่ายและเร็วกว่า หากคำตอบของคุณเป็นเครื่องมือฯ ชวเลขก็ต้องหมดความจำเป็นแน่นอน การสรุปความอย่างย่อกับการจดบันทึกเกือบทุกรายละเอียด เมื่อนำมาถอดความแล้วพิมพ์ต้นฉบับหรือผลิตเป็นเอกสาร สาระสำคัญจากทั้งสองทางเลือกอันไหนที่ทำให้โอกาสข้อมูลผิดพลาดมากกว่า คุณรู้คำตอบสำหรับทางเลือกนั้นแล้ว....การจดบันทึกเรื่องที่เป็นความลับของเจ้านายหรืองานที่รับผิดชอบ ตัวชวเลขผู้จะแปลหรือเข้าใจได้ ก็ต้องเป็นผู้เคยฝึกหรือเรียนรู้เรื่องนี้มาก่อน หากจะหาคนปล่อยข่าวหรือข้อมูลลับเหล่านั้น ไม่ใช่เจ้านายกับทีมเลขานุการ บุคคลที่สามน่าจะสืบเสาะหาได้ไม่ยากนักการประชุมหรือการจดบันทึกบางเรื่อง เจ้านายอาจจะไม่อนุญาตให้มีการบันทึกด้วยเครื่องบันทึกแบบใดทั้งสิ้น ทางเลือกระหว่างการ short note กับ shorthand วิธีใดเก็บรายละเอียดได้มากกว่ากัน... การกรอกใบสมัคร ในช่องความสามารถพิเศษ สำหรับการใช้ชวเลขภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ผู้พิจารณาใบสมัครของแผนกบุคลากรหรือผู้รับผิดชอบ จะมองข้ามเชียวหรือ! อีกเรื่องที่ลืมไม่ได้คือ ความเร็วต่อนาที (speed) ต้องระบุให้ชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น